HOTLINE: (+66)89-996-9914 | Line: @beeboxpp
japan
english
thai
  • blog thumbnail

    Occasionally, I field questions from site visitors about various aspects of printing history. I generally reply by email sharing what I can on the subject and then direct them to other sources. Here’s a query that our readership should be able to answer.

    … how much time it would take to set a book in type and print it in seventeenth century Europe?

    http://www.pongpatprinting.com/cmsadmin/AdvertisingGateway/blog.php



  • blog thumbnail


    บริการออกแบบ และผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด เรียบหรู ดูดี มีสไตล์ ไม่เหมือนใคร
    ทั้งงานปริมาณน้อย (Print On Demand) และปริมาณมาก รวมไปถึงเทคนิคการพิมพ์ต่างๆ เช่น ปั้มนูน เคลือบด้าน สปอตยุวี

    นามบัตรถือเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในระดับมืออาชีพที่เหล่าบรรดาผู้ประกอบการ นักบริหาร หรือแม้แต่กระทั่งพนักงานทุกคนที่ถือเป็นหน่วยปฏิบัติที่เล็กที่สุดของ บริษัทจำเป็นต้องมีพกติดตัวเอาไว้ เนื่องจากในความเป็นจริงนามบัตรธุรกิจเป็นอะไรที่มีคุณค่ามากกว่าแค่กระดาษ แผ่นเล็กๆแผ่นหนึ่ง เพราะนามบัตรธุรกิจเป็นการแสดงและแนะนำตัวตนของผู้ประกอบการ บริษัท หรือพนักงานผู้ถือบัตรให้บุคคลอื่นได้รู้จักเปรียบเสมือนเป็นบัตรประชาชนทาง ธุรกิจเลยก็เทียบได้ ซึ่งหลายวัฒนธรรมของการทำธุรกิจในการพบปะพูดคุยกันครั้งแรกๆของบริษัทผู้ค้า มักจะมีการแลกเปลี่ยนนามบัตรกันก่อนที่จะเริ่มลงมือพูดคุยเจรจาธุรกิจด้วย ซ้ำไป นามบัตรจึงเป็นสิ่งสำคัญและกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆธุรกิจจะต้องมี ซึ่งโดยปกติแล้วนามบัตรไม่ได้มีรูปแบบตายตัวเหมือนสูตรทางคณิตศาสตร์แต่มัน ก็มีหลักการสากลที่ผู้ประกอบการควรจะต้องยึดเอาไว้เป็นหลักในการพิจารณา ออกแบบอยู่บ้างพอสมควรเพื่อความเป็นมืออาชีพและได้รับการยอมรับจากภายนอก โดยองค์ประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังต่อไปนี้

    ชื่อ สกุล ต้องชัดเจน
    ชื่อและนามสกุลถือเป็นส่วนสำคัญอันดับแรกสุดเลยของนามบัตร เพราะวัตถุประสงค์หลักของนามบัตรคือมันถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแนะนำชื่อเสียง เรียงนามของผู้ถือเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบการห้ามสะกดตัวอักษรผิดเป็นอันขาดซึ่งเรื่องนี้อันตรายมาก เพราะการสะกดผิดแม้แต่ตัวเดียวก็ทำให้ความหมายของชื่อและการอ่านออกเสียง เปลี่ยนไปได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดความผิดพลาดในด้านอื่นๆอีกหากคู่ค้าทางธุรกิจของท่านนำ ชื่อที่ได้จากนามบัตรที่สะกดผิดไปเขียนอ้างอิงลงในสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย หรือเช็คธนาคารซึ่งมันจะกลายเป็นโมฆะทันทีและต้องเสียเวลามาร่างเอกสารใหม่ ทั้งหมดซึ่งมันไม่คุ้มค่าและยังหน้าอับอายมากอีกด้วย นอกจากนี้แล้วชื่อของผู้เป็นเจ้าของนามบัตรต้องมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ วางอยู่อย่างโดดเด่นและสามารถสังเกตได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ตำแหน่งที่วาง เป็นต้น

    ตำแหน่งหน้าที่
    ตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าของบัตรคือองค์ประกอบในส่วนที่ 2 ที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสนใจ เพราะมันจะบ่งบอกถึงตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าของนามบัตรใบนั้น โดยตรงเพื่อเป็นการสะดวกในการขอติดต่อ ซึ่งสำหรับบริษัทที่มีลักษณะองค์กรขนาดใหญ่มักไม่ค่อยมีปัญหาเพราะพนักงาน แต่ละคนมีตำแหน่งที่ตายตัวอยู่แล้ว แต่ปัญหามักจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่มีขนาดเล็กที่บางคนยังไม่รู้ว่าตนเอง ทำงานในตำแหน่งอะไรเลยด้วยซ้ำเพราะทำแทบจะทุกอย่างเลย ดังนั้นก่อนที่จะทำนามบัตรต้องกำหนดให้ได้เสียก่อนว่าเจ้าของนามบัตรทำงานใน ตำแหน่งอะไรจึงจะสามารถดำเนินการในทำนามบัตรได้ ต้องพิมพ์ให้เห็นเด่นชัด นอกจากนี้หากในอนาคตมีพนักงานคนใดมีตำแหน่งเปลี่ยนแปลง ต้องรีบทำการเปลี่ยนนามบัตรให้พนักงานคนคนั้นโดยทันทีด้วย

    ที่อยู่ของการติดต่อ
    พงศ์พัฒน์ การพิมพ์ของเราให้ความสำคัญในสิ่งพิมพ์สิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ส่วนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างสูง โดยผู้ประกอบการต้องระบุชื่อที่อยู่ของบริษัทลงไปอย่างชัดเจนว่าบริษัทชื่อ อะไรตั้งอยู่เลขที่เท่าไหร่ แขวง/เขตไหน จังหวัดอะไร รหัสไปรษณีย์รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ติดต่อของทางบริษัท ซึ่งนอกจากนี้ในปัจจุบันยังควรต้องใส่เบอร์โทรศัพท์มือถือ อีเมลล์ รวมถึงทวิตเตอร์และช่องทางการสื่อสารอื่นๆที่เจ้าของบัตรมีเพื่อความสะดวก มากขึ้นในการติดต่อสื่อสารและเป็นการตามเทรนด์ของสังคมที่พัฒนามากขึ้นใน แต่ละวัน

    โลโก้บริษัท
    ตามหลักที่ถูกต้องแล้วโลโก้บริษัทต้องมีขนาดที่ใหญ่โตและโดดเด่นมากที่สุดใน นามบัตร โดยมีสีสันตามโลโก้จริงทั้งหมดและต้องตั้งอยู่ในที่ที่โดดเด่นแยกออกมา เป็นการเฉพาะในมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นซ้ายหรือขวา และต้องไม่มีรายละเอียดในส่วนอื่นเข้าไปเกี่ยวข้องหรือจัดอยู่ในส่วน เดียวกัน

    ขนาดของนามบัตร บนกระดาษต่างๆ

    โดยปกติขนาดของนามบัตรค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้วคือ มีความกว้าง 90 มิลลิเมตรและยาว 54 มิลลิเมตร ตามรูปแบบสากล ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบกอบการสามารถแก้ไขขนาดได้นิดหน่อยทั้งความกว้างและ ความยาวโดยบวกลบได้ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร และสามารถเหลามุมของนามบัตรให้มีลักษณะที่โค้งมนได้ แต่ไม่ควรออกแบบรูปทรงให้มีลักษณะที่แปลกประหลาดมากไป เพราะเก็บใส่กระเป๋าได้ค่อนข้างลำบาก

    สีพื้นหลัง 4 สี 2 สี และ 1 สี หรือสีเดียว
    สามารถเลือกได้ตามใจชอบแต่อยากจะขอแนะนำให้ใช้สีที่เป็นพื้นๆและอ่อนแทน เพราะสามารถอ่านตัวหนังสือได้สะดวกกว่าพวกที่มีสีเข้มๆมาก จัดทุกองค์ประกอบอย่างสมดุลและลงตัว ส่วนสุดท้ายที่ต้องทำก็คือผู้ประกอบการต้องมาจัดองค์ประกอบก่อนหน้านี้ให้ ทุกส่วนสามารถเข้ากันได้อย่างลงตัวมากที่สุดไม่น้อยหรือมากเกินไป โดยลักษณะที่ขอแนะนำคือให้เลือกเขียนสิ่งต่างๆลงในนามบัตรอย่างตรงตัวกระชับ และต้องไม่ยาวจนเกินไปแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องครอบคลุมจนทำให้รู้ว่าเจ้าของ นามบัตรเป็นใครมีหน้าที่ตำแหน่งการงานอยู่ที่บริษัทอะไร สาเหตุก็เพราะหากเขียนอธิบายมากจนเกินไปนามบัตรธุรกิจก็จะทำให้จับใจความไม่ ได้ แต่หากท่านเขียนน้อยเกินไปก็จะดูไม่น่าเชื่อถืออีกเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบการต้องพยายามจัดสรรเนื้อที่ในนามบัตรอย่างลงตัวให้มาก ที่สุด อย่าลืมว่านามบัตรธุรกิจที่ดีสามารถสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจมานับไม่ ถ้วนแล้ว

    Source: http://incquity.com/articles/office-operation/business-namecard


  • blog thumbnail

    ประวัติกระดาษ         
       กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์โบราณ และชาวจีนตั้งแต่สมัยโบราณ แต่กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียน คือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก       กระดาษของชาวอียิปต์โบราณ ผลิตจากหญ้าที่เรียกว่าปาปิรุส (papyrus) และเรียกว่ากระดาษปาปิรุส พบว่ามีการใช้จารึกบทสวดและคำสาบาน บรรจุไว้ในพีระมิดของอียิปต์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีการใช้กระดาษที่ทำจากปาปิรุสมาตั้งแต่ปฐมราชวงศ์ ของอียิปต์ (ราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล) [1]สำหรับวัสดุใช้เขียนนั้น ในสมัยโบราณมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น แผ่นโลหะ หิน ใบลาน เปลือกไม้ ผ้าไหม ฯลฯ ผู้คนสมัยโบราณคงจะใช้วัสดุต่างๆ หลากหลายเพื่อการบันทึก ครั้นเมื่อราว ค.ศ. 105 ชาวจีนชื่อ เป็นคนแรกที่ได้ประดิษฐ์กระดาษจากเศษผ้าฝ้ายผ้าขี้ริ้วเพื่อเป็นวัสดุที่ใช้ เขียนแทนผ้าไหมที่มีราคาแพง และหลังจากนั้นได้มีการใช้วิธีผลิตกระดาษเช่นนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว 
       ประวัติกระดาษในสมัยโบราณของไทย การศึกษาส่วนมากจะอาศัยการท่องจำต่อ ๆ กันมาในระดับท้องถิ่น และมีบางส่วนที่ได้จดบันทึกไว้เป็นตำราลงบนแผ่นศิลา แผ่นหนัง แผ่นดินเผา ใบลาน เมื่อมีการทำกระดาษก็จดบันทึกลงบนกระดาษ กระดาษในระยะแรก ๆ เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อข่อย เรียกว่า สมุดข่อย

       กระดาษข่อยในสมัยโบราณมี 2 สี ได้แก่
       1 กระดาษข่อยสีขาว เขียนด้วยสีดำ สีแดง หรือสีทอง
       2.กระดาษข่อยสีดำที่ผสมหรือทาด้วยผงถ่านสีดำ เขียนด้วยสีขาวหรือสีทอง
    สีทองส่วนมากทำจากหอระดานกลีบทอง สีทองที่ทำจากผงทองคำก็มี [3]

  • blog thumbnail

         เราทุกคนย่อมคุ้นเคยกับกระดาษเป็นอย่างดี เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราตั้งแต่เด็กจนโต กระดาษเป็นส่วนประกอบตั้งแต่หนังสือเรียนที่อ่านสมัยเด็ก นิตยสารสำคัญในวงการในวันที่เป็นผู้บริหาร หรือแม้กระทั่งแผนงานที่จะนำเสนอให้ลูกค้าในวันที่เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษปอนด์ กระดาษอาร์ต กระดาษกล่อง หรือ กระดาษทำปก ทุกคนคงคุ้นเคยกับชื่อเหล่านี้ดี แต่วันนี้ผมจะมานำเสนอกระดาษในมุมที่ต่างไปว่าทำไมกระดาษจึงเป็นยิ่งกว่า กระดาษได้ ทำไมเจ้าของงานพิมพ์ควรเรียนรู้เรื่องกระดาษและกำหนดคุณสมบัติกระดาษที่จะ ใช้ด้วยตนเอง? ทำไมโรงพิมพ์จึงควรเสนอทางเลือกของกระดาษไว้หลายๆชนิดในมือ? ทำไมผู้ค้ากระดาษจึงยึดติดกับสินค้าเดิมๆตลอดไปไม่ได้?

         แน่นอนกระดาษก็เหมือนวัตถุดิบอย่างอื่นๆ ที่ระหว่างกระดาษต่างประเภท ต่างชนิด และต่างไลน์การผลิต ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างในหลายๆด้านขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะในการใช้งาน ท่านที่เคยมีโอกาสได้ไปดูงานพิมพ์ในยุโรปหรืออเมริกาจะเข้าใจได้ชัดเลยว่า ที่นั่นเขาใช้กระดาษที่เฉพาะเจาะจงกับงานพิมพ์แต่ละอย่างจริงๆ เช่น กระดาษ Book Paper ที่ใช้พิมพ์หนังสือ กระดาษแมกกาซีนกับนิตยสาร กระดาษ Packaging ฯลฯ ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าในหลักการผลิตแล้ว แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะทำกระดาษตัวหนึ่งที่ใช้ได้อย่างยอดเยี่ยมกับทุกประเภท ของงานพิมพ์ หรือถ้าทำได้ก็คงเป็นได้เพียงสินค้าโชว์ เพราะต้นทุนคงสูงเกินกว่าจะนำมาทำตลาดได้ ผู้ผลิตจึงต้องมีการตัดสินใจเลือกคุณสมบัติต่างๆ มากน้อย ต่างกันไปตามการใช้งาน ซึ่งคุณสมบัติของกระดาษที่จะเอามาแบ่งปันในวันนี้มีหลักๆ อยู่ 9 อย่างด้วยกัน
            
         1. Thickness หรือ ความหนาของกระดาษ ชื่อที่นิยมเรียกในวงการคือ Caliper มีผลอย่างมาก เพราะ การเปลี่ยนความหนาเพียงเล็กน้อยอาจมีผลทำให้รูปลักษณ์ของหนังสือ หรือ บรรจุภัณฑ์ เลี่ยนไปจากที่ต้องการ
        
         2. Grammage หรือ แกรม ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นตัวบอกความหนักของกระดาษ และยังมีผลต่อค่าความหนาอีกด้วย โดยทั่วไปแกรมที่เพิ่มขึ้นมักให้ความหนาที่มากขึ้น ผู้จัดทำหนังสือหลายรายเชื่อว่ายิ่งแกรมมากจะยิ่งดีเพราะทำให้หนังสือมีรูป เล่มหนาขึ้นดูมีราคา แต่ก็ต้องแลกมาด้วยน้ำหนักที่มากจนลำบากต่อผู้อ่าน รวมถึงราคาต้นทุนที่แพงขึ้น ปัจจุบันสำนักพิมพ์หลายแห่งจึงเริ่มสนใจการใช้ Bulkiness หรือ ความฟูมาช่วยให้เกิดความหนาขึ้นของหนังสือ โดยมีน้ำหนักแกรมเท่าเดิม ซึ่งจะกล่าวในข้อถัดไป
        
         3. Bulkiness หรือ ความฟูของกระดาษ ยิ่งกระดาษฟูเท่าไรค่าความหนาหรือ Thickness ก็จะสูงขึ้น หลักการประยุกต์ใช้คุณสมบัติข้อนี้ คือ กำหนดค่าความหนาที่ต้องการสำหรับสิ่งพิมพ์ให้คงที่ แล้วเลือกน้ำหนักแกรมที่เหมาะแล้วให้ความฟูของกระดาษเป็นตัวปรับให้ความหนา ได้ตามที่ต้องการ ยกตัวอย่าง กระดาษ Book Paper หรือ LWC+ ถ้าต้องการความหนาที่เท่ากับกระดาษปอนด์ทั่วไปที่ 70 แกรม อาจเลือกใช้กระดาษเหล่านี้ที่ 55 แกรมแล้วเลือกค่าความฟูที่ทำให้ ความหนาเพิ่มจนได้เท่า 70 แกรมของกระดาษปอนด์ ซึ่งนอกจากลดต้นทุนเพราะซื้อด้วยน้ำหนักที่เบากว่า ยังเป็นจุดขายให้ผู้อ่านพกพาสิ่งพิมพ์ดังกล่าวได้สะดวกอีกด้วย
        
         4. Brightness หรือ ความสว่างของกระดาษ ซึ่งความสว่างจะมากหรือน้อยขึ้นกับงานพิมพ์ แน่นอน ถ้าเป็นงานกราฟฟิก งานโฆษณาและงานบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ ความสว่างมากจะยิ่งดูดีส่งเสริมภาพลักษณ์ได้มาก แต่งานบางอย่างเช่น หนังสือนิยาย ความสว่างที่มากเกินไปอาจทำให้ปวดตาเวลาอ่านไปนานๆได้ ความสว่างที่เหมาะสมจะช่วยถนอมสายตา ลองนึกถึงเวลามองหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ปรับ Brightness เต็มที่นานๆ ถ้าให้เราดูหนังหรือดูรูปถ่ายอาจจะสวยสดใส แต่ถ้าให้มานั่งเพ่งตัวอักษรก็คงไม่ไหวเหมือนกัน
        
         5. Shade หรือ โทนสี กระดาษอาจมีได้หลายโทนสี ที่นิยมคือ โทนสีขาวนวล กับ โทนสีครีม ซึ่งเห็นได้ชัดในวงการหนังสือและสิ่งพิมพ์ เช่นเดียวกันไม่เกี่ยวว่าสีครีมจะดีกว่าสีขาว ขึ้นกับควมชอบของผู้อ่านในแต่ละประเทศ หรือในหนังสือแต่ละชนิดมากกว่า
        
         6. Opacity หรือ ความทึบแสง เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากอันดับต้นๆ สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือและนิตยสาร Opacity ที่สูงจะทำให้ไม่เกิดอาการรำคาญเวลาอ่าน เนื่องจากแสงจากอีกฝั่งทะลุผ่านเข้ามาได้น้อย ทำให้ไม่เห็นตัวอักษรสะท้อนจากอีกฝั่งของกระดาษ
        
         7. Stiffness หรือ ความแกร่งของกระดาษ มีความสำคัญในงานบรรจุภัณฑ์อย่างมาก สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับว่าจะบรรจุสินค้าประเภทไหน ต้องรับน้ำหนักแค่ไหน ความแกร่งไม่ได้ขึ้นกับแกรมเสมอไป ปัจจัยสำคัญอยู่กับกระบวนการผลิตและความชำนาญของแต่ละโรงงาน ความแกร่งยังมีผลในสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสารด้วย โดยเฉพาะกับกระดาษแมกกาซีน ถ้าแกร่งน้อยจะทำให้กระดาษขาดง่าย ถ้าสังเกตนิตยสารดังๆ จากต่างประเทศ กระดาษจะดูบางมากๆ แต่ก็ถูกฉีกขาดได้ยากมากๆเช่นเดียวกัน ก็เพราะความแกร่งที่มีมากตามไปด้วย
        
         8. Smoothness หรือ ความเรียบของกระดาษ แน่นอนว่าโดยทั่วไป กระดาษยิ่งเรียบมาก งานก็จะยิ่งสวย กราฟฟิกก็จะยิ่งงดงาม และลูกค้าก็จะยิ่งรู้สึกดี แต่ต้องอย่าลืมว่าราคาก็จะสูงตามไปด้วย หรืออาจมีคุณสมบัติอื่นๆที่ถูกลดคุณภาพลงในกรณีที่ราคาเท่าเดิม
        
         9. Surface หรือ ผิวหน้าของกระดาษ มีหลายแบบจะเป็นแบบด้าน (Matt) หรือ แบบมันเงา (Glossy) หรือ ขึ้นกับความต้องการใช้งาน บางคนอาจต้องการกระดาษด้านเพื่อพิมพ์กราฟฟิกแบบให้ขึ้นมันเน้นความแตกต่าง ระหว่างกราฟฟิกกับฉากพื้นหลัง บางคนชอบกระดาษด้านเพราะดูนุ่มๆแบบคลาสสิก บางคนชอบกระดาษมันเงาเพราะดูหรูมีระดับ หรือ บางคนชอบกระดาษแบบไม่เคลือบ (Uncoated) เพราะจับแล้วได้สัมผัสเนื้อกระดาษจริงๆดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความชอบ และรสนิยมที่ต่างกันไป